top of page

มาตรฐานการเดินสายไฟฟ้าใต้ดิน

  • Writer: LDA
    LDA
  • 3 days ago
  • 1 min read

มาตรฐานการเดินสายไฟฟ้าใต้ดิน


การเดินสายไฟฟ้าใต้ดินในบทความนี้หมายถึง การเดินสายไฟฟ้าแรงดันต่ำในบ้านพักอาศัย  เช่น การเดินสายเมนจากมิเตอร์ไฟฟ้าเข้ามายังตัวบ้าน หรือ การเดินสายจากบ้านไปยังจุดใช้งานภายนอกบ้าน 


การเดินสายจากบ้านไปยังจุดใช้งานภายนอกบ้าน เช่น การเดินสายไปยังที่วางถังเก็บน้ำสำหรับปั๊มน้ำ การเดินสายไปยังที่จอดรถสำหรับเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า การเดินสายไปยังพื้นที่สวนสำหรับระบบบำบัดน้ำไฟแสงสว่าง…ฯลฯ


ประโยชน์ของการเดินสายไฟฟ้าใต้ดิน ก็คือความเรียบร้อยสวยงาม และถ้าติดตั้งอย่างถูกต้อง ก็จะมีความปลอดภัยกว่าการเดินสายลอย ( พาดสายกลางอากาศ, เกาะผนัง, วางบนพิ้น ) ส่วนข้อเสียของการเดินสายไฟฟ้าใต้ดิน คือ มีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงกว่า


การติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินสามารถทำได้ 4 รูปแบบ คือ

  1. การติดตั้งสายฝังดินโดยตรง

  2. การติดตั้งในท่อร้อยสายใต้ดิน

  3. การติดตั้งสายหรือท่อฝังดิน ใต้พื้นคอนกรีต

  4. การติดตั้งสายหรือท่อฝังดิน โดยมีคอนกรีตปิดทับสายหรือท่อด้านบน โดยด้านบนคอนกรีตเป็นดิน


มาตรฐานการเดินสายไฟฟ้าใต้ดิน ประกอบด้วย มาตรฐานความลึกในฝังสายไฟฟ้าใต้ดิน, ชนิดของสายไฟฟ้า ชนิดของท่อร้อยสายไฟฟ้า ระบบป้องกันการลัดวงจร (Short Circuit Protection) และข้อกำหนดการติดตั้ง


มาตรฐานความลึกในฝังสายไฟฟ้าใต้ดิน

  1. การติดตั้งสายฝังดินโดยตรง

ต้องฝังสายที่ระดับความลึกไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร จากระดับผิวดิน 

  1. การติดตั้งในท่อร้อยสายใต้ดิน

กรณีเป็นท่ออโลหะ เช่น HDPE ต้องฝังท่อร้อยสายที่ระดับความลึกไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร จากระดับผิวดิน 

กรณีเป็นท่อโลหะ เช่น IMC, RSC, RTRC ต้องฝังท่อร้อยสายที่ระดับความลึกไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร จากระดับผิวดิน 

  1. การติดตั้งสายหรือท่อฝังดิน ใต้พื้นคอนกรีต

กรณีเป็นสายเปลือยไม่ใส่ท่อ ต้องฝังสายที่ระดับความลึกไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร จากระดับผิวพื้นคอนกรีต 

กรณีเป็นท่ออโลหะร้อยสายและโลหะร้อยสาย ต้องฝังสายที่ระดับความลึกไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร จากระดับผิวพื้นคอนกรีต 

  1. การติดตั้งสายหรือท่อฝังดิน โดยมีคอนกรีตปิดทับสายหรือท่อด้านบน โดยด้านบนคอนกรีตเป็นดิน

กรณีเป็นสายเปลือยไม่ใส่ท่อ ต้องฝังสายที่ระดับความลึกไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร จากระดับผิวพื้นคอนกรีต 

กรณีเป็นท่ออโลหะ ต้องฝังท่อร้อยสายที่ระดับความลึกไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร จากระดับผิวดิน 

กรณีเป็นท่อโลหะ ต้องฝังท่อร้อยสายที่ระดับความลึกไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร จากระดับผิวดิน 

-โดยทุกรูปแบบต้องฝังสายหรือท่อร้อยสายไฟฟ้าที่ความลึกไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร กรณีฝังใต้บริเวณที่มีรถยนต์วิ่งผ่าน


มาตรฐานของสายไฟฟ้าสำหรับติดตั้งฝังดิน

ในการติดตั้งสายแบบฝังดิน ทั้งร้อยท่อฝังดิน และฝังดินโดยตรงนั้น สายไฟฟ้ามีโอกาสสัมผัสกับน้ำและความชื้นสูง อีกทั้งมีโอกาสที่สายจะถูกกดทับ และอาจต้องรับแรงดึงจากการทรุดตัวของดิน ดังนั้นจะต้องมีทั้งฉนวนและเปลือกหุ้มชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง และฉนวนและเปลือกสายจะต้องมีความหนาเพียงพอที่จะป้องกันการซึมผ่านของน้ำและความชื้นในระยะยาว และสายต้องมีความแข็งแรงทนทานต่อแรงกดทับและแรงดึง

โดยสายชนิดที่สามารถติดตั้งฝังดินได้นั้น ได้แก่ สาย NYY/ NYY-G , VCT / VCT-G และ สาย CV / CV-FD


มาตรฐานของท่อร้อยสายไฟฟ้าสำหรับติดตั้งฝังดิน

ท่อร้อยสายไฟฟ้าสำหรับติดตั้งฝังดินมี 2 แบบ คือ ท่อโลหะ และท่ออโลหะ

ท่อโลหะ ได้แก่ ท่อ IMC(Intermediate Metallic Conduit), ท่อ RSC(Rigid Steel Conduit), ท่อ RTRC(Reinforced Thermosetting Resin Conduit)

ท่ออโลหะ ได้แก่ ท่อ HDPE(High Density Polyethylene) เป็นท่อผิวสีดำล้วนคาดสีส้ม มีความมันเงา


ระบบป้องกันการลัดวงจร (Short Circuit Protection)

การติดตั้งสายไฟฟ้าฝังดินต้องมีระบบป้องกันการลัดวงจร เช่น การใช้ฟิวส์หรือเบรกเกอร์ที่สามารถทนทานต่อกระแสไฟฟ้าสูงในกรณีที่เกิดการลัดวงจร


ข้อกำหนดการติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้าฝังดิน

-วัสดุที่ใช้สำหรับกลบสายหรือท่อร้อยสายเพื่อการติดตั้งใต้ดิน ห้ามใช้วัสดุที่มีคม หรือทำให้เกิดการผุกร่อนกับสายเคเบิลหรือท่อร้อยสาย รวมทั้งห้ามใช้วัสดุกลบที่มีขนาดใหญ่ เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสายเคเบิลหรือท่อร้อยสายที่ติดตั้งใต้ดินได้

-กรณีมีปลายท่อซึ่งฝังอยู่ในดิน ต้องมีบุชชิงชนิดอุด (Conduit sealing bushing) ณ จุดที่สายไฟฟ้าออกจากท่อ ทั้งนี้อนุญาตให้ใช้วัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติการป้องกันเทียบเท่ากับบุชชิงชนิดอุดทดแทนได้

-การต่อท่อ HDPE ต้องหุ้มรอยต่อบริเวณข้อต่อด้วยแผ่น พลาสติกแล้วรัดด้วย CABLE TIE ทังสองข้าง เพือป้องกันนําปูนซึมเข้าภายในข้อต่อ จากนั้นจึงหุ้มรอยต่อบริเวณข้อต่อด้วยคอนกรีตอีกชั้นหนึง

-ในกรณีที่มีการเดินท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินเข้าไปในอาคาร ต้องมีการป้องกันฉนวนสายชำรุดเนื่องจากดินทรุด ท่อร้อยสายนั้นต้องยาวเลยผนังด้านนอกของอาคารออกไป


ท่อ HDPE สำหรับงานร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน
ท่อ HDPE สำหรับงานร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน

ท่อ IMC งานไฟฟ้า
ท่อ IMC งานไฟฟ้า


สายไฟฟ้า NYY-G สำหรับงานเดินท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน
สายไฟฟ้า NYY-G สำหรับงานเดินสายไฟฟ้าใต้ดิน


bottom of page