สาเหตุของชักโครกมีกลิ่น ราดไม่ลง เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุดังต่อไปนี้
1. ถ้าส้วมเป็นระบบบ่อเกรอะบ่อซึม( บ่อซีเมนต์แบบวงกลมวางซ้อนกัน )บริเวณของที่ตั้งบ่อเกรอะ บ่อซึมมีน้ำมากจะทำให้บ่อเกรอะบ่อซึม ซึมน้ำออกไม่ได้
วิธีแก้ไข : เปลี่ยนระบบเป็นแบบถังสำเร็จรูป ( SAT )
2. ถ้าเป็นถังสำเร็จรูปที่มีระบบเครื่องกลปั่นอากาศ ( ใช้ช่วยในการย่อยสลาย ) เครื่องอาจเสียหาย หรือไม่ได้ต่อไฟฟ้าหรือเปิดไฟฟ้า
วิธีแก้ไข : ต้องตรวจสอบว่าเครื่องกลปั่นอากาศชำรุดหรือเปิดสวิทซ์หรือไม่
3. ในกรณีที่เป็นถังส้วมแบบสำเร็จรูป ระดับของท่อระบายน้ำอาจไม่สูงพอจากท่อระบายน้ำสาธารณะ ทำให้ระบายน้ำได้ไม่ทันหรือไม่ดีพอ
วิธีแก้ไข : ต้องติดตั้งระดับถังสำเร็จรูปให้สูงพอที่จะระบายไปสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะได้ดี แต่ในกรณีี ท่อระบายน้ำสาธารณะบริเวณบ้านของท่านมีน้ำท่วมสูงจนถึงระดับท่อระบายน้ำของถังส้วมจะไม่สามารถ แก้ไขได้ต้องรอให้ระดับน้ำในท่อระบายน้ำทิ้งสาธารณะลดลงจึงใช้งานได้ตามปกติ
4. ระดับของชักโครกอาจอยู่ไม่สูงพอสำหรับการระบายสิ่งปฏิกูลจากชักโครกไปยังถังส้วม
วิธีแก้ไข : ต้องยกชักโครกให้สูงขึ้นเพื่อให้สิ่งปฏิกูลระบายได้สะดวก
5. ท่อส้วมแตก วิธีแก้ไข : ซ่อมรอยแตก
6. ไม่มีท่อระบายอากาศหรือท่อระบายอากาศอุดตัน
วิธีแก้ไข : ติดตั้งท่อระบายอากาศ และแก้ไขท่ออากาศไม่ให้อุดตัน โดยส่วนใหญ่ชอบมีแมลงเข้าไปทำรังขวางทางเดินของอากาศในท่อ
7. ขนาดของถังส้วมอาจไม่เหมาะสมกับปริมาณผู้ใช้งาน ขนาดของถังส้วมที่เหมาะสมต่อจำนวนคนที่จะใช้ ผู้ใช้ 1-6 คนควรใช้ถังส้วมขนาด 600 ลิตร ผู้ใช้ 8 คนควรใช้ถังส้วมขนาด 800 ลิตร ผู้ใช้ 11 คนควรใช้ถังส้วมขนาด 1000 ลิตร ผู้ใช้ 13 คนควรใช้ถังส้วมขนาด 1200ลิตร ผู้ใช้ 17 คนควรใช้ถังส้วมขนาด 1600 ลิตร ผู้ใช้ 22 คนควรใช้ถังส้วมขนาด 2000 ลิตร
8. มีสิ่งของที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ไปติดอยู่ในท่อส้วม
วิธีแก้ไขชักโครกมีกลิ่น :
- ใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์ย่อยสลายรุนแรงใส่ลงไป ( หาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป ) แต่วิธีนี้จะทำให้จุลินทรีย์ที่จำเป็นในการย่อยสลายในถังส้วมตายไปด้วยดังนั้นในการใช้สารเคมีดังกล่าว ควรมีการเติมจุลินทรีย์อย่างต่อเนื่องต่อไปอีกอย่างน้อย 7 วันเพื่อให้ระบบการย่อยสลายกลับเข้าสู่สภาวะปกติ - วิธีใช้ปั๊มศูนย์ยากาศเพื่อให้สิ่งอุดตันหลุดจากท่อ - ให้บริษัทรับแก้ไขปัญหาท่อนั้นมาทะลวงท่อด้วยเครื่องมือพิเศษ
Comments